จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ[4] เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน
จังหวัดอุตรดิตถ์
บทความนี้เกี่ยวกับจังหวัดอุตรดิตถ์ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ อุตรดิตถ์ (แก้ความกำกวม)
|
เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ [6] ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด [7]
จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด
ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[8] โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด
ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว
สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น
เนื้อหา
ประวัติศาสตร์[แก้]
สมัยก่อนประวัติศาสตร์[แก้]
พื้นที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ในอดีต เป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบลุ่มอันเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำพัดของแม่น้ำน่านที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานและประกอบกสิกรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานบริเวณรอบที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและการตั้งถิ่นฐานของแหล่งชุมชนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ดังการค้นพบเครื่องมือหินขัดและซากกระดูกมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านบุ่งวังงิ้วซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามตำบลบางโพ-ท่าอิฐ และการค้นพบกลองมโหระทึกสำริด, กาน้ำและภาชนะสำริดที่ม่อนศัลยพงษ์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตตำบลบางโพในปี พ.ศ. 24701[10]สมัยประวัติศาสตร์[แก้]
พื้นที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ในทำเลที่ตั้งอันเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่มีความเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นในบริเวณแถบนี้จึงมีการเคลื่อนไหวและย้ายถิ่นฐานของผู้คนมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีท่าน้ำที่สำคัญ 3 ท่า คือ ท่าเซา ท่าอิด และท่าโพธิ์ ซึ่งมีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยขอมปกครองท่าอิด ตั้งแต่ พ.ศ. 1400[11]เมืองท่าการค้าขายสำคัญ[แก้]
ที่ตั้งของตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันมีที่มาจาก 3 ท่าน้ำสำคัญที่มีความสำคัญเป็นชุมทางค้าขายมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรขอม คือ- ท่าอิด คือ บริเวณท่าอิฐบนและท่าอิฐล่างปัจจุบัน
- ท่าโพธิ์ คือ บริเวณวัดท่าถนน ตลาดบางโพ เนื่องจากมีต้นโพธิ์มาก มีคลองไหลผ่าน เรียกว่า คลองบางโพธิ์ (เพี้ยนมาเป็นบางโพ)
- ท่าเสา คือ บริเวณตลาดท่าเสา
สำหรับความหมายของท่าอิฐและท่าเสาในอีกความเห็นหนึ่งนั้น พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำกรมศิลปากร กล่าวไว้ในหนังสือของท่านคัดค้านการสันนิษฐานความหมายตามภาษาคำเมืองดังกล่าว โดยกล่าวว่า คำว่าท่าอิฐและท่าเสานั้นเป็นคำในภาษาไทยกลาง เพราะคนท่าอิฐและท่าเสาเป็นกลุ่มชนสุโขทัยดั้งเดิมที่ใช้กลุ่มภาษาไทยกลุ่มเมืองในแคว้นสุโขทัย เช่นเดียวกับชาวสุโขทัย นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร และเช่นเดียวกับกลุ่มคนในตำบลทุ่งยั้ง บ้านพระฝาง เมืองพิชัย บ้านแก่ง และบ้านคุ้งตะเภา ซึ่งเป็นกลุ่มคนแคว้นสุโขทัยเดิมในจังหวัดอุตรดิตถ์เช่นเดียวกัน โดยคำว่าท่าเสานั้น มีความหมายโดยตรงเกี่ยวข้องกับการล่องซุงหมอนไม้ในสมัยโบราณเช่นเดียวกับชื่อนามหมู่บ้านหมอนไม้ (หมอนไม้ซุง) ซึ่งอยู่ทางใต้ของบ้านท่าอิฐ[12]
อย่างไรก็ดี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แสดงให้เห็นว่าทั้งท่าอิฐและท่าเสานับเป็นท่าที่มีความเจริญทางการค้ามากกว่าทุกท่าในภาคเหนือ เป็นทั้งท่าจอดเรือ ค้าขายจากมณฑลภาคเหนือและภาคกลางรวมถึงเชียงตุง เชียงแสน หัวพันทั้งห้าทั้งหก สิบสองปันนา สิบสองจุไทย จนต่อมาแควน่านได้เปลี่ยนทางเดิน ทำให้หาดท่าอิดงอกออกไปทางตะวันออกมากทุก ๆ ปี ท่าอิดจึงเลื่อนตามลงไปเรื่อย ๆ เรียกว่าหาดท่าอิดล่าง ท่าอิดเดิมเรียกว่าท่าอิดบน ท่าอิดล่างก็ยังคงเป็นศูนย์การค้าสำคัญของภาคเหนือมาตลอดจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6[11]
ปลายกรุงศรีอยุธยา-ต้นกรุงรัตนโกสินทร์[แก้]
ในช่วงสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมืองฝาง ซึ่งอยู่เหนือน้ำเมืองอุตรดิตถ์ได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมสำคัญของประชาชน เพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการสงครามระหว่างไทย-พม่า ทำให้เกิดชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นใหญ่เหนือหัวเมืองแถบนี้ ก่อนจะถูกปราบปรามลงได้ในภายหลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยใช้เมืองท่าอิดเป็นที่พักทักเมื่อกรีธาทัพผ่านมา [13] และใช้เป็นที่รวบรวมทัพก่อนขึ้นตีหัวเมืองฝ่ายเหนือและล้านนา สมัยก่อนนั้น การเดินทางและการขนส่งสินค้าเพื่อนำมาขายทางตอนเหนือมีสะดวกอยู่ทางเดียวคือ ทางน้ำ แม่น้ำที่สามารถให้เรือสินค้ารวมทั้งเรือสำเภาขึ้นลงได้สะดวกถึงภาคเหนือตอนล่างก็มีแม่น้ำน่านเท่านั้น เรือสินค้าที่มาจากกรุงเทพฯ หรือกรุงศรีอยุธยาก็จะขึ้นมาได้ถึงบางโพท่าอิฐเท่านั้น เพราะเหนือขึ้นไปแม่น้ำจะตื้นเขินและมีเกาะแก่งมาก ฉะนั้นตำบลบางโพท่าอิฐจึงเป็นย่านการค้าที่สำคัญ [11]
กำเนิดนามเมืองอุตรดิตถ์[แก้]
โดยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อุตรดิตถ์เป็นหัวเมืองชุมนุมการค้าที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในภาคเหนือ ทำให้ในปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของเมืองแห่งนี้ในฐานะศูนย์กลางการค้าขายของแถบภาคเหนือตอนล่าง หรือเมืองท่าที่ตั้งอยู่ปลายเหนือสุดของการควบคุมด้วยอำนาจโดยตรงของ อาณาจักร จึงพระราชทานนามเมืองท่าอิดไว้ว่า "อุตรดิฐ"[15] (อุตร-ทิศเหนือ, ดิตถ์-ท่าน้ำ) แปลว่า "ท่าน้ำแห่งทิศเหนือ" (คำนี้ต่อมาเขียนเป็น "อุตตรดิตถ์ "[16] และ "อุตรดิตถ์" ดังที่ใช้ในปัจจุบัน)พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองพิชัย ท่าอิด เมืองทุ่งยั้ง และเมืองลับแล ทรงเล็งเห็นว่าท่าอิดมีความเจริญ เป็นศูนย์ทางการค้า ประกอบกับมีเมืองลับแลอยู่ใกล้ ๆ เป็นเมืองรองลงไป การชำระคดีและการเรียกเก็บภาษีอากรสะดวกกว่าที่เมืองพิชัย แต่ท่าอิดในขณะนั้นยังคงมีฐานะเป็นเมืองท่าขึ้นต่อเมืองพิชัย ดังนั้น คดีต่าง ๆ ที่เกิดขั้นรวมทั้งการเก็บภาษีอากรส่วนใหญ่จึงอยู่ที่ท่าอิด ราษฎรต้องลงไปเมืองพิชัยติดต่อกับส่วนราชการเป็นการไม่สะดวก จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพิชัยมาตั้งที่บริเวณท่าอิด ส่วนเมืองพิชัยเดิมว่าเรียกว่าเมืองพิชัยเก่า
ที่พักทัพปราบกบฏเงี้ยว[แก้]
พ.ศ. 2446 พวกเงี้ยวก่อการจลาจลที่เมืองแพร่ โดยมีประกาหม่องหัวหน้าเงี้ยวตั้งตนเป็นใหญ่[18][19][20] จับพระยาสุรราชฤทธานนท์ข้าหลวงประจำมณฑลกับข้าราชการไทย 38 คนฆ่าแล้วยกทัพลงมาจะยึดท่าอิด กองทัพเมืองอุตรดิตถ์โดยการนำของพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ เป็นผู้บัญชาทัพ พระยาพิศาลคีรี (ทัพ) ข้าราชการเกษียณอายุแล้วเป็นผู้คุมกองเสบียงส่ง โดยยกทัพไปตั้งรับพวกเงี้ยวที่ปางอ้อ ปางต้นผึ้ง พระยาศรีสุริยราชฯ จึงมอบหมายพระยาพิศาลคีรี เป็นผู้บัญชาการทัพแทน ทั้งนี้เนื่องจากเป็นผู้มีอาวุโสและกรำศึกปราบฮ่อที่หลวงพระบางมามาก พระยาพิศาลคีรีได้สร้างเกียรติคุณให้กองทัพไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยการปราบทัพพวกเงี้ยวราบคาบ ฝ่ายไทยเสียชาวบ้านที่อาสารบเพียงคนเดียว กอปรกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีซึ่งเป็นแม่ทัพจากกรุงเทพฯ ยกมาช่วยเหลือ[21]ยุคทางรถไฟถึงเมืองอุตรดิตถ์[แก้]
พ.ศ. 2448-2451 ทางรถไฟได้เริ่มสร้างทางผ่านท่าโพธิ์และท่าเซา ซึ่งขณะนั้นบริเวณนี้ยังเป็นป่าไผ่อยู่ ไม่เจริญเหมือนท่าอิด กรมรถไฟจึงได้สร้างทางรถไฟแยกไปที่หาดท่าอิดล่าง ในปี พ.ศ. 2450 สมัยพระยาสุจริตรักษา (เชื้อ) เป็นเจ้าเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 กรมรถไฟได้สร้างสถานีรถไฟถึงบางโพธิ์และท่าเซา ทำให้ท่าโพธิ์และท่าเซาเจริญทางการค้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับที่ท่าอิดน้ำท่วมบ่อย การคมนาคมทางน้ำเริ่มลดความสำคัญลง การค้าที่ท่าอิดเริ่มซบเซา พ่อค้าเริ่มอพยพมาตั่งที่ท่าโพธิ์และท่าเซาเพิ่มมากขึ้น ท่าอิดเมืองท่าที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 1400 ก็เสื่อมความนิยมลง และได้ย้ายศูนย์กลางการค้ามาที่ตลาดท่าโพธิ์และตลาดท่าเสาในเวลาต่อมาต่อมาหลังจากการตัดเส้นทางรถไฟผ่านเมืองอุตรดิตถ์สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทำให้แหล่งชุมนุมการค้าย่านท่าเสาและท่าอิฐเริ่มหมดความสำคัญลง เพราะรถไฟสามารถวิ่งขึ้นเมืองเหนือได้โดยไม่ต้องหยุดขนถ่ายเสบียงที่เมืองอุตรดิตถ์ และประกอบกับการที่ทางราชการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ปิดกั้นแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าปลาในปี พ.ศ. 2510 ทำให้การคมนาคมทางน้ำยุติลงสิ้นเชิง โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้น เส้นทางคมนาคมทางถนนในจังหวัดอุตรดิตถ์มีเพียงไม่กี่เส้นทาง และด้วยทำเลที่ตั้งและความไม่สะดวกในการคมนาคมทางถนนในช่วงนั้นดังกล่าว ทำให้ตัวเมืองอุตรดิตถ์ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคเหนือกลายเป็นเมืองในมุมปิด ไม่เหมือนเมื่อครั้งการคมนาคมทางน้ำรุ่งเรือง และด้วยภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยดังกล่าว จึงทำให้ในช่วงต่อมารัฐบาลได้หันมาพัฒนาเมืองพิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างแทน[22]
อุตรดิตถ์ในปัจจุบัน[แก้]
จนในปี พ.ศ. 2522 ทางการได้ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ทำให้เมืองอุตรดิตถ์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนามากขึ้นตามลำดับ เพราะทางเส้นนี้เป็นเส้นทางส่วนหนึ่งของถนนสายเอเชียที่ตัดผ่านมาจากจังหวัดพิษณุโลกผ่านนอกเมืองอุตรดิตถ์เข้าสู่จังหวัดแพร่ ทำให้เส้นทางนี้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางบกสายหลักของจังหวัดอุตรดิตถ์ และกลายเป็นทางผ่านสำคัญเพื่อเข้าสู่ภาคเหนือตัวเมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้นมาโดยลำดับเนื่องจากเป็นที่ตั้งของย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ทำให้ในปี พ.ศ. 2458 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้ย้ายศูนย์ราชการจากเมืองพิชัยมาตั้งไว้ที่เมืองอุตรดิตถ์ และในปีพ.ศ. 2495 เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะจากเมืองอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ สืบจนปัจจุบัน
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- คำขวัญประจำจังหวัด
เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก | ||
— คำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ |
- วิสัยทัศน์ประจำจังหวัด
- เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ก้าวไกลสัมพันธ์เพื่อนบ้านยั่งยืน
- ต้นไม้ประจำจังหวัด
- ดอกไม้ประจำจังหวัด
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด
- เพลงประจำจังหวัด
อุตรดิตถ์เมืองงาม | |
ตัวอย่างบทเพลง อุตรดิตถ์เมืองงาม |
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |
ภูมิศาสตร์[แก้]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ใต้สุดของภาคเหนือ โดยมีพื้นที่ประมาณ 7,854 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 25 ของประเทศ มีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศลาว มีเขตแนวพรมแดน 120 กิโลเมตร
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย
- ทะเลหมอก บนจุดชมวิวเขาพลึง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11) รอยต่อจังหวัดแพร่-อุตรดิตถ์
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ[แก้]
[ซ่อน]ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดอุตรดิตถ์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.8 (89.2) | 34.5 (94.1) | 36.8 (98.2) | 38.2 (100.8) | 35.8 (96.4) | 33.6 (92.5) | 32.9 (91.2) | 32.5 (90.5) | 32.7 (90.9) | 32.8 (91) | 32.1 (89.8) | 31.1 (88) | 33.73 (92.72) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 16.3 (61.3) | 18.2 (64.8) | 21.0 (69.8) | 23.7 (74.7) | 24.6 (76.3) | 24.4 (75.9) | 24.1 (75.4) | 23.9 (75) | 23.7 (74.7) | 22.8 (73) | 20.2 (68.4) | 17.0 (62.6) | 21.66 (70.99) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 7.8 (0.307) | 9.9 (0.39) | 22.9 (0.902) | 71.5 (2.815) | 225.4 (8.874) | 196.2 (7.724) | 194.2 (7.646) | 259.7 (10.224) | 282.3 (11.114) | 134.2 (5.283) | 24.5 (0.965) | 4.0 (0.157) | 1,432.6 (56.402) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 1 | 2 | 3 | 7 | 15 | 17 | 19 | 22 | 19 | 11 | 3 | 1 | 120 |
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department |
ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]
จังหวัดอุตรดิตถ์มีทรัพยากรป่าไม้ที่สมบูรณ์ มี ทรัพยากรแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แร่พลวง เหล็ก ทองแดง ยิปซัม แร่ใยหิน ดินขาว ทัลก์ แต่ยังไม่ได้นำไปใช้ในทางเศรษฐกิจ และมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน่าน ไหลผ่านเขตจังหวัดเป็นระยะความยาวถึง 160 กิโลเมตร แม่น้ำปาด ห้วยพูล คลองแม่พร่อง ห้วยน้ำพี้ คลองตรอน ห้วยน้ำลอก นอกจากนั้นมีเขื่อนและฝายกักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน คือ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนดินช่องเขาขาดหรือแซดเดิล ฝายสมเด็จฯ และฝายหลวงลับแลซึ่งเป็นฝายแรกของประเทศไทยการเมืองการปกครอง[แก้]
เขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 67 ตำบล 562 หมู่บ้านการปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
จังหวัดอุตรดิตถ์แบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น 9 อำเภอ 67 ตำบล 613 หมู่บ้าน โดยมีอำเภอดังนี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอตรอน อำเภอทองแสนขัน อำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด อำเภอบ้านโคก อำเภอพิชัย อำเภอฟากท่า และอำเภอลับแล และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ประเภท ประกอบด้วย- องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
- เทศบาลเมือง 1 แห่ง
- เทศบาลตำบล 25 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนตำบล 63 แห่ง
ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์[แก้]
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|---|---|
1 | พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (โพ เนติโพธิ์) | พ.ศ. 2444-2446 | 2 | พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) | พ.ศ. 2446-2449 |
3 | พระยาสุจริตรักษา (เชื้อ) | พ.ศ. 2449-2450 | 4 | พระยาสุริยราชวราภัย (จร) | พ.ศ. 2450-2454 |
5 | พระยาวจีสัตยรักษ์ (ดิศ) | พ.ศ. 2454-2459 | 6 | พระยาพิษณุโลกบุรี (สวัสดิ์ มหากายี) | ดำรงตำแหน่งครั้งแรก พ.ศ. 2459-2459 |
7 | พระยาวโรดมภักดีศรีอุตรดิตถ์นคร (อั้น หงษนันท์) | พ.ศ. 2459-2467 | 8 | พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) | ดำรงตำแหน่งครั้งที่2 พ.ศ. 2467-2496 |
9 | พระยาวิเศษฤๅชัย (มล.เจริญ อิศรางกูร) | พ.ศ. 2469-2471 | 10 | พระยาวิเศษภักดี (ม.ร.ว.กมลนพวงษ์) | พ.ศ. 2471-2474 |
11 | พระยาอัธยาศัยวิสุทธิ์ (โชติ กนกมณี) | พ.ศ. 2474-2476 | 12 | พระประสงค์เกษมราษฎร์ (ชุ่ม) | พ.ศ. 2476-2478 |
13 | พระสนิทประชานันท์ (ทองอิน แสงสนิท) | พ.ศ. 2479-2481 | 14 | หลวงอุตรดิตถาภิบาล (เนื่อง ปาณิกบุตร) | พ.ศ. 2481-2482 |
15 | พระสมัครสโมสร (เสงี่ยม บุรณสมบูรณ์) | พ.ศ. 2483-2485 | 16 | ขุนพิเศษนครกิจ (ชุบ กลิ่นสุคนธ์) | พ.ศ. 2486-2487 |
17 | ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์) | พ.ศ. 2487-2488 | 18 | ขุนอักษรสารสิทธิ์ (ละมัย สารสิทธิ์) | พ.ศ. 2488-2490 |
19 | ขุนสนิทประชาราษฎร์ (สนิท จันทร์ศัพท์) | พ.ศ. 2490-2491 | 20 | นายพ่วง สุวรรณรัฐ | พ.ศ. 2491-2492 |
21 | นายเกษม อุทยานิน | พ.ศ. 2492-2492 | 22 | ร.ท.ถวิล ระวังภัย | พ.ศ. 2492-2493 |
23 | ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) | พ.ศ. 2493-2495 | 24 | ขุนรัฐวุฒิวิจารย์ (สุวงศ์ วัฎสิงห์) | พ.ศ. 2495-2497 |
25 | ขุนสนิทประชากร (กุหลาบ ศกรมูล) | พ.ศ. 2497-2501 | 26 | นายสง่า ศุขรัตน์ | พ.ศ. 2501-2506 |
27 | นายประกอบ ทรัพย์มณี | พ.ศ. 2506-2509 | 28 | พล.ต.ต.สามารถ วายวานนท์ | พ.ศ. 2509-2510 |
29 | นายเวทย์ นิจถาวร | พ.ศ. 2510-2513 | 30 | นายเวียง สาครสินธุ์ | พ.ศ. 2513-2515 |
31 | นายดิเรก โสตสถิตย์ | พ.ศ. 2515-2516 | 32 | นายวิจิน สัจจะะเวทะ | พ.ศ. 2516-2518 |
33 | พล.ต.ต.ศรีศักดิ์ ธรรมรักษ์ | พ.ศ. 2518-2519 | 34 | นายเลอเดช เจษฎาฉัตร | พ.ศ. 2519-2522 |
35 | นายกาจ รักษ์มณี | พ.ศ. 2522-2526 | 36 | นายธวัช มกรพงศ์ | พ.ศ. 2526-2530 |
37 | นายธวัชชัย สมสมาน | พ.ศ. 2530-2531 | 38 | นายสุพงศ์ ศรลัมพ์ | พ.ศ. 2531-2532 |
39 | นายศรีพงศ์ สระวาสี | 1 มิ.ย. พ.ศ. 2532-30 ก.ย. พ.ศ. 2534 | 40 | นายชัยวัฒน์ อรุโณทัยวิวัฒน์ | 1 ต.ค. พ.ศ. 2534-30 ก.ย. พ.ศ. 2536 |
41 | นายสมบัติ สืบสมาน | 5 ต.ค. พ.ศ. 2536-30 มี.ค. พ.ศ. 2540 | 42 | นายนิรัช วัจนะภูมิ | 31 มี.ค. พ.ศ. 2540-5 เม.ย. พ.ศ. 2541 |
43 | นายชัยพร รัตนนาคะ | 16 เม.ย. พ.ศ. 2541-30 ก.ย.พ.ศ. 2542 | 44 | นายสิทธิพร เกียรติศิริโรจน์ | 1 ต.ค. พ.ศ. 2542-30 ก.ย. พ.ศ. 2545 |
45 | นายปรีชา บุตรศรี | 1 ต.ค. พ.ศ. 2545-30 ก.ย. พ.ศ. 2548 | 46 | ร.ต.ท.อุปฤทธิ์ ศรีจันทร์ | 1 ต.ค. พ.ศ. 2548-12 พ.ย. พ.ศ. 2549 |
47 | นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ | 13 พ.ย. พ.ศ. 2549–30 กันยายน 2550 | 48 | นายธวัชชัย ฟักอังกูร | 1 ต.ค. พ.ศ. 2550–30 กันยายน 2552 |
49 | นายโยธิน สมุทรคีรี | 1 ต.ค. พ.ศ. 2552–30 กันยายน 2555 | 50 | นายเฉลิมชัย เฟื่องนคร | 12 พ.ย. พ.ศ. 2555––30 กันยายน 2556 |
51 | นายชัช กิตตินภดล | 1 ต.ค. พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน 2558 | 52 | นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ | 1 ต.ค. พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน 2559 |
53 | นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ | 1 ต.ค. พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน 2560 | 54 | นายเสฐียรพงศ์ มากศิริ | 1 ต.ค. พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน |
ความมั่นคง[แก้]
ค่ายทหารในจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นค่ายทหารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาความสงบในจังหวัดอุตรดิตถ์- ค่ายพิชัยดาบหัก มณฑลทหารบกที่ 35 , กองพันทหารม้าที่ 7, กรมทหารม้าที่ 2 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
- ค่ายพระศรีพนมมาศ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 20 อำเภอลับแล
เศรษฐกิจ[แก้]
จังหวัดอุตรดิตถ์มีผลผลิตสาขาที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของจังหวัดคือ สาขาการเกษตร รองลงไปคือการอุตสาหกรรม การประมง และการพาณิชย์- พืชเศรษฐกิจของจังหวัดที่สำคัญคือ ลางสาดมีการปลูกมากที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ก็มีทุเรียน เงาะ มังคุด สับปะรด ลำไย ส่วนพืชไร่ที่เป็นพืชเศรษฐกิจคือ ข้าว อ้อย ข้าวโพด กระเทียม ถั่วต่าง ๆ และยาสูบ เป็นต้น
- มีพื้นที่ปลูกอ้อยมากเพราะมีโรงงานน้ำตาลถึง 2 แห่ง มีโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง โรงงานผลิตไวน์ลางสาด โรงงานผลิตเส้นหมี่ โรงงานผลิตดินขาว โรงงานถลุงแร่ขนาดเล็ก เป็นต้น
- มีการทำอุตสาหกรรมในครัวเรือนหลายอย่างเช่น การทำไม้กวาดตองกง การทอผ้า การจักสานเครื่องใช้ไม้ไผ่ การทำเครื่องปั้นดินเผา การตีเหล็กทำเครื่องใช้เกษตรกรรมและทำมีด เป็นต้น
- สภาพความคล่องตัวของเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล อำเภอพิชัย มีธนาคารพาณิชย์คอยให้บริการอยู่หลายแห่ง จากสภาพทั่วไปแล้วจังหวัดอุตรดิตถ์มีค่าครองชีพของประชากรอยู่ในระดับปานกลาง
ประชากร[แก้]
ประชากรท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัด คือชนพื้นถิ่นไทยสยามและไทยวน ผู้เป็นเจ้าของซากโครงกระดูกและเครื่องมือหินและสำริดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในจังหวัด ต่อมาพื้นที่ตั้งเมืองอุตรดิตถ์เป็นทางผ่านสำคัญมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมดองซอน ทำให้มีการเคลื่อยย้ายผู้คนมาจากที่ต่าง ๆ มากขึ้น เรื่อยมาในสมัยทวารวดีและอาณาจักรขอมดังปรากฏหลักฐานเมืองโบราณที่เวียงเจ้าเงาะ จนมาในสมัยสมัยสุโขทัยได้มีเมืองเกิดขึ้นมากมาย เช่น เมืองฝาง เมืองทุ่งยั้ง เมืองตาชูชก และเมืองพิชัย และด้วยการเป็นเส้นทางการค้าทางน้ำ ทำให้ชาวเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยโบราณมีที่มาจากหลายเผ่าพันธุ์ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมสืบเนื่องมาจนปัจจุบันคือไทยสยามจากอาณาจักรสุโขทัยที่อาศัยอยู่ในแถบอำเภอพิชัย และไทยวนจากอาณาจักรล้านนาที่อพยพจากเชียงแสนมาอาศัยอยู่ในแถบอำเภอลับแล ชนสองกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานขึ้นเป็นเมืองอย่างมั่นคงมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการกวาดต้อนผู้คนและการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ล้านช้าง (ลาว) จากทั้งเมืองเวียงจันทน์และเมืองหลวงพระบาง ลงมาตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดมากขึ้น ได้แก่บริเวณอำเภอน้ำปาก อำเภอฟากท่า และอำเภอบ้านโคกในปัจจุบัน และได้มีชาวจีนโพ้นทะเลอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขายในแถบเมืองท่ามากเป็นลำดับ จึงทำให้เมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันกลายเป็นเมืองที่มีกลุ่มชนมากถึง 3 วัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข[22]
จำนวนประชากรในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ (ปี 2551 จังหวัดอุตรดิตถ์มีประชากรทั้งสิ้น 464,205 คน ประชากรชาย 229,207 คน ประชากรหญิง 234,998 คน) | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชาวไทยสยาม (เมืองอุตรดิตถ์, พิชัย) ชาวไทยล้านนา (ลับแล, ท่าปลา, เมืองอุตรดิตถ์,ตรอน, ทองแสนขัน,น้ำปาด) | |||||||
อันดับ | อำเภอ | จำนวนประชากร | ชาวไทยเชื้อสายลาว (บ้านโคก, ฟากท่า,น้ำปาด, ตรอน, ทองแสนขัน) | ||||
1 | อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ | 85,124 | |||||
2 | อำเภอพิชัย | 73,119 | |||||
3 | อำเภอลับแล | 37,142 | |||||
4 | อำเภอท่าปลา | 42,951 | |||||
5 | อำเภอตรอน | 30,888 | |||||
6 | อำเภอน้ำปาด | 29,558 | |||||
7 | อำเภอทองแสนขัน | 28,021 | |||||
8 | อำเภอฟากท่า | 14,359 | |||||
9 | อำเภอบ้านโคก | 10,618 |
ศาสนา[แก้]
ประชากรท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัด นับถือผีที่เป็นความเชื่อแบบโบราณเป็นหลัก สังเกตได้จากร่องรอยการใส่ภาชนะและข้าวของเครื่องใช้ลงในหลุมฝังศพตามความเชื่อในเรื่องโลกหน้าของคนโบราณในหลุมขุดค้นทางโบราณคดีบ้านบุ่งวังงิ้วอย่างไรก็ตามศาสนาแรกที่ชาวอุตรดิตถ์รับมานับถือสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธศาสนา เพราะปรากฏหลักฐานโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดที่ พระมหาสถูปแห่งเมืองฝาง จากตำนานที่กล่าวว่าเป็นพระสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระทันตธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้รับมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณทูตคือพระโสณะและพระอุตตระมาประกาศพระศาสนาที่สุวรรณภูมิ และแม้ว่าตำนานนี้อาจจะเป็นเรื่องที่แต่งเสริมความศรัทธาในภายหลัง แต่พระมหาสถูปแห่งเมืองฝางก็คงสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับการสถาปนาเมืองฝางสวางคบุรีให้เป็นเมืองหน้าด่านทิศตะวันออกสุดแห่งอาณาจักรสุโขทัย (สวางคบุรี-เมืองที่รับแสงอรุณแห่งแรกของอาณาจักรสุโขทัย) [22]
ปัจจุบัน ประชากรของจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทลังกาวงศ์ประมาณร้อยละ 99.66 มีจำนวนวัดในพระพุทธศาสนาถึง 312 วัด พระสงฆ์สามเณรกว่าพันรูป[24] นอกจากนั้นยังมีศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ซึ่งเข้ามาเผยแพร่ในภายหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นคนนอกพื้นที่ ที่อพยพย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดอุตรดิตถ์ในช่วงไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมา
การศึกษา[แก้]
จังหวัดอุตรดิตถ์นับได้ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนกระทั่งถึงระดับอุดมศึกษา ในระดับปฐมวัยและระดับมัธยมศึกษานั้น ดูแลโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ แบ่งออกเป็น 2 เขต โดยแต่ละเขตจะรับผิดชอบการศึกษาของแต่ละอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์นอกจากนี้ ยังมีการจัดการเรียนในระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ (และที่เปิดสาขาเป็นศูนย์การศึกษาอุตรดิตถ์) ดังต่อไปนี้
- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการจังหวัดอุตรดิตถ์ (วัดหมอนไม้)
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์บริการการศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์ (โรงเรียนอุตรดิตถ์)
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศูนย์สอบจังหวัดอุตรดิตถ์ (โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี)
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดอุตรดิตถ์ (โรงพยาบาลอุตรดิตถ์)
- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ (สถาบันร่วมผลิตแพทย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)
- อาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์
- วิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์
- วิทยาลัยการอาชีพพิชัย
- วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์ ชื่อเดิม "โรงเรียนอุตรดิตถ์เทคโนโลยี"
- โรงเรียนอุตรดิตถ์บริรักษ์
- วิทยาลัยการอาชีพรัตนประสิทธิ์วิทย์ สถาปนาสถาบันเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 เป็นสถาบันอาชีวะใหม่
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาวัดเสาหิน อำเภอลับแล
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาวัดมงคลนิมิตร อำเภอตรอน
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี วัดคลองโพธิ์ อำเภอเมือง
โรงพยาบาล[แก้]
ประเพณีและวัฒนธรรม[แก้]
สภาพพื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตรอยต่อ 3 วัฒนธรรม คือล้านนา ล้านช้าง และไทยกลาง เป็นผลให้ลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษาถิ่นและงานประเพณีพื้นบ้านต่าง ๆ มีลักษณะผสมผสาน บางส่วนพูดภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง)[ต้องการอ้างอิง] บางส่วนพูดภาษาไทยภาคกลาง บางส่วนพูดภาษาลาว และบางส่วนพูดภาษาท้องถิ่นของตน เช่น บ้านทุ่งยั้ง เป็นต้นงานเทศกาล และงานประจำปี[แก้]
- อำเภอลับแล
- งานเทศกาลแห่น้ำขึ้นโฮง : ไหว้สาเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร กษัตริย์พระองค์แรกแห่งนครลับแล มีการแห่ขบวนตุงล้านนาที่ยาวที่สุด จัดขึ้นในช่วงเดือน 6 ของทุกปี
- งานเทศกาลทุเรียนและผลไม้เมืองลับแล : จัดโดย เทศบาลตำบลหัวดง
- งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ตั้งแต่ วันขึ้น 8 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน สาม จัดโดย วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระนอนพุทธไสยาสน์ และจังหวัดอุตรดิตถ์
- งานประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันอัฏฐมีบูชา : จัดในระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึง วันแรม 8 ค่ำ เดือน 6
- งานประเพณีสงกรานต์เมืองลับแล ถนนข้าวแคบ : จัดโดยเทศบาลพระศรีพนมมาศ ระหว่างวันที่ 12 - 15 เมษายน ของทุกปี ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ
- งานประเพณีสลากชะลอมและค้างบูยา
- อำเภอเมือง
- งานเทศกาลพระยาพิชัยดาบหัก และงานกาชาดจังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างวันที่ 7 - 16 มกราคม ของทุกปี ณ สนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก ถนนแปดวา และถนนประตูชัย
- งานเทศกาลลางสาด ลองกองหวาน และสินค้า OTOP อุตรดิตถ์ ณ สนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก ถนนแปดวา และถนนประตูชัย
- งานเทศกาลสงกรานต์ถนนหลงหลินลับแล(มหาสงกรานต์เมืองอุตรดิตถ์) ระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายน ของทุกปี ณ ถนนฤดีเปรมตั้งแต่งวงเวียนสาธารณสุข ถึงแยกสนามแบดมินตัน : จัดโดยเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
- งานประจำปีนมัสการหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน
- งานประจำปีวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ : จัดโดยเทศบาลตำบลผาจุก
- งานประจำปีวัดหมอนไม้
- งานหอการค้าแฟร์ : ณ สนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก ถนนแปดวา และถนนประตูชัย จัดโดยหอการค้าจังหวัดอุตรดิตถ์
- งานอุตรดิตถ์เกษตรแฟร์ : ณ ถนนแปดวา และถนนประตูชัย จัดโดยสำงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์
- อำเภอตรอน
- งานประเพณีไหลแพไฟเฉลิมพระเกียรติ พิธีขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหารและสายน้ำ : วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี บริเวณลานอเนกประสงค์ริมน้ำน่าน อำเภอตรอน
- งานย้อนรำลึกเส้นทางประวัติศาสตร์รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองตรอนตรีสินธุ์ วัดหาดสองแคว
- งานฮ่วมแอ่วงาน เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ไท-ยวน บ้านน้ำอ่าง สืบสานวิถีไทย ระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน ของทุกปี ณ วัดไชยมงคล
- อำเภอน้ำปาด
- งานพญาปาด เทศกาล หอม-กระเทียม และของดีอำเภอน้ำปาด
- อำเภอบ้านโคก
- งานสืบสานประเพณีก่อเจดีย์บุญกองข้าวใหญ่
- อำเภอพิชัย
- งานนมัสการหลวงพ่อโต และของดีเมืองพิชัย
- อำเภอฟากท่า
- งานของดีอำเภอฟากท่า
- อำเภอท่าปลา
- งานประเพณีสงกรานต์เขื่อนสิริกิติ์ จัดโดย เขื่อนสิรกิติ์ ณ เขื่อนสิริกิติ์
- งานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและของดีอำเภอท่าปลา จัดโดยเทศบาลตำบลจริม และองค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา ณ สนามกลางอำเภอท่าปลา
การละเล่นพื้นบ้าน[แก้]
จังหวัดอุตรดิตถ์ ยังมีการละเล่นดนตรีพื้นบ้านที่ยังคงมีผู้สืบต่อมาจนปัจจุบัน ถึงสามวัฒนธรรม ทั้งภูมิปัญญาในการทำเครื่องดนตรีและการละเล่น เช่น ดนตรีมังคละ (มีการละเล่นกันอยู่ในอำเภอพิชัย (กองโค) อำเภอเมือง (พระฝาง, หมอนไม้, คุ้งตะเภา) และอำเภอลับแล (ทุ่งยั้ง,ไผ่ล้อม)) และวงปี่พาทย์ไทยเดิม รวมถึงการละเล่นซะล้อ ซอ ซึง จ๊อย ค่าว ตามแบบวัฒนธรรมล้านนาการขนส่ง[แก้]
ทางราง[แก้]
จังหวัดอุตรดิตถ์มีทางรถไฟผ่านจำนวน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอพิชัย และอำเภอตรอน อีกทั้งจังหวัดอุตรดิตถ์ยังเป็นที่ตั้งของย่านสถานีรถไฟที่สำคัญในภาคเหนือ ได้แก่ สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และสถานีรถไฟศิลาอาสน์ ที่มีขบวนรถไฟจากสถานีรถไฟกรุงเทพ สถานีรถไฟพิษณุโลก และสถานีรถไฟเชียงใหม่มายังจังหวัดอุตรดิตถ์ทุกวัน วันละ 22 ขบวน(เที่ยวขึ้นและเที่ยวล่อง) ทั้งรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว และรถท้องถิ่นทางถนน[แก้]
ทางรถโดยสารประจำทาง[แก้]
จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต2) มีรถยนต์โดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศจากกรุงเทพฯ สู่อุตรดิตถ์ทุกวัน วันละหลายเที่ยว เช่น บ.เชิดชัยทัวร์ จ. บ. สุโขทัย วินทัวร์ (วินทัวร์) บ.นครชัยแอร์ บ.นครชัยทัวร์ และของบขส. เป็นต้น บริษัทที่ให้บริการเดินทางรถประจำทางทั้งรถปรับอากาศชั้นที่ 1 ชั้น 2 ทั้งรถมาตราฐานชั้นที่4 ก,ข (รถสองชั้น) และรถโดยสารธรรมดา นอกจากนี้จากสถานีขนส่งอุตรดิตถ์ สามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย ดังนี้- ภาคเหนือตอนบน
- ปลายทาง เชียงใหม่ ผ่าน เด่นชัย ลำปาง ลำพูน
- ปลายทาง แม่สาย ผ่าน เด่นชัย แพร่ พะเยา เชียงราย
- ปลายทาง เชียงของ ผ่าน แพร่ เชียงคำ เทิง
- ปลายทาง ทุ่งช้าง น่าน ผ่าน แพร่
- "ปลายทาง" เชียงราย "ผ่าน" เด่นชัย งาว ดอกคำใต้
- ภาคเหนือตอนล่าง
- ปลายทาง ตาก กำแพงเพชร ผ่าน ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก สุโขทัย
- ปลายทาง นครสวรรค์ ผ่าน พิษณุโลก พิจิตร
- ปลายทาง พิษณุโลก
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ปลายทาง อุดรธานี นครพนม ผ่าน นครไทย ด่านซ้าย เลย ภูกระดึง หนองบัวลำภู สกลนคร
- ปลายทาง ขอนแก่น ผ่าน หล่มสัก ชุมแพ
- ปลายทาง นครราชสีมา ผ่าน สากเหล็ก เขาทราย สระบุรี ลพบุรี
- ปลายทาง อุบลราชธานี ผ่าน ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร
- ภาคตะวันออก
- ปลายทาง พัทยา ระยอง ผ่าน สระบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี ศรีราชา พัทยา
- ภาคใต้
- ปลายทาง ภูเก็ต ผ่าน สิงห์บุรี บางบัวทอง เพชรบุรี ชะอำ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พังงา
ทางรถยนต์ส่วนบุคคล[แก้]
- สายที่ 1 จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 เข้าพิษณุโลก แล้วเดินทางตามเส้นทางสายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์) จนถึงจังหวัดอุตรดิตถ์
- สายที่ 2 จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1ผ่านสระบุรี แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ผ่านลพบุรี เพชรบูรณ์ จนถึงอำเภอหล่มเก่า เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 11 จนถึงจังหวัดอุตรดิตถ์
- สายที่ 3 จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1จนถึงกำแพงเพชร เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ผ่านสุโขทัย จนถึงอำเภอศรีสัชนาลัย แล้วแยกขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 จนถึงจังหวัดอุตรดิตถ์
ระบบขนส่งมวลชนภายในจังหวัดอุตรดิตถ์[แก้]
- ท่ารถประจำทาง
- รถประจำทางสายอุตรดิตถ์-ตรอน-พิชัย (ท่ารถอยู่ข้างวัดท่าถนนฝั่งริมน้ำน่าน)
- รถประจำทางสายอุตรดิตถ์-ฟากท่า-บ้านโคก (ท่ารถหน้าสถานีรถไฟอุตรดิตถ์เก่า)
- รถประจำทางสายอุตรดิตถ์-ทองแสนขัน-น้ำปาด (ท่ารถอยู่ข้างวัดท่าถนนฝั่งริมน้ำน่าน)
- คิวรถสองแถว
- รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-ลับแล (คิวรถอยู่หน้าร้านอุตรดิตถ์เมืองทอง และร้านเพชรนพเก้า)
- รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-หาดงิ้ว (คิวรถอยู่ฝั่งตรงข้ามนาซ่าแลนด์)
- รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-ห้วยฉลอง (คิวรถอยู่ตึกแถวข้างตลาดเทศบาล 3)
- รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-น้ำปาด (คิวรถอยู่หน้าสนามแบดมินตันเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์(ตลาดโต้รุ่ง))
- รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-น้ำหมัน-วังดิน (คิวรถอยู่หน้าสนามแบดมินตันเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์(ตลาดโต้รุ่ง))
- รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-ท่าปลา (คิวรถอยู่ข้างวิทยาลัยอาชีวะศึกษาอุตรดิตถ์)
- รถแท๊กซี่ มีจุดจอดรับส่งอยู่ที่ สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และสถานีขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์
- รถสองแถวรอบเมือง มีจุดจอดรับส่งอยู่ที่สถานีขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ ,โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ,เทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ ,ตลาด และเกาะกลาง
- รถตุ๊กตุ๊กรับจ้าง มีจุดจอดรับส่งที่สถานีขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์
- รถจักรยานยนต์รับจ้าง มีจุดจอดรับส่งที่ ตรงข้ามตลาดโต้รุ่ง ,หน้าห้างฟรายเดย์ ,หน้าวัดท่าถนนฝั่งตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์
- รถสามล้อรับจ้าง
ทางอากาศ[แก้]
เดินทางโดยใช้สายการบินนกแอร์ แบบ Fly'n'Ride กรุงเทพ(ดอนเมือง)-อุตรดิตถ์ วันละ 1 เที่ยวบิน จากสนามบินดอนเมืองถึงสนามบินพิษณุโลก และเดินทางโดยรถตู้ถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่จังหวัดอุตรดิตถ์(โชว์รูมโตโยต้าชัวร์อุตรดิตถ์)การเดินทางสู่ประเทศเพื่อนบ้าน[แก้]
จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพรมแดนติดกับเมืองปากลาย แขวงไชยบุรี ประเทศลาว ทางอำเภอบ้านโคกและน้ำปาด เมือปี 2552 ทางคณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกระดับช่องภูดู่ ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก เป็นด่านชายแดนสากล ดังนั้นในปัจจุบัน การเดินทางผ่านแดนเข้าออกสู่ประเทศลาวสามารถทำได้อย่างสะดวก ณ ที่ทำการด่าน ตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศลาวการเดินทางสู่ประเทศลาวเริ่มจาก จุดผ่านแดนถาวรภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงเมืองหลวงพระบาง เป็นระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง
- ด่านภูดู่ -ปากลาย 30 กิโลเมตร
- ปากลาย-ไชยบุรี 168 กิโลเมตร
- ไชยบุรี-ท่าเรือเฟอร์รี 30 กิโลเมตร (ข้ามแม่น้ำโขง)
- ท่าเรือเฟอร์รี-เชียงเงิน 60 กิโลเมตร
- เชียงเงิน-หลวงพระบาง 27 กิโลเมตร
สถานที่สำคัญ[แก้]
- โบราณสถาน
- วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ
- วัดพระแท่นศิลาอาสน์
- วัดพระยืนพุทธบาทยุคล
- วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
- บ่อเหล็กน้ำพี้
- วัดดงสระแก้ว
- พระอารามหลวง
- พระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์
- หลวงพ่อเพ็ชร (วัดท่าถนน) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์
- พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี (วัดคุ้งตะเภา)
- หลวงพ่อพุทธรังสี (วัดพระยืนพุทธบาทยุคล)
- หลวงพ่อธรรมจักร (วัดพระแท่นศิลาอาสน์)
- พระเจ้าทันใจ (วัดพระแท่นศิลาอาสน์)
- หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย)
- หลวงพ่อสุวรรณเภตรา (วัดคุ้งตะเภา)
- หลวงพ่อสัมฤทธิ์ (วัดหมอนไม้)
- หลวงพ่อโต (วัดหน้าพระธาตุ อำเภอพิชัย)
- พระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) (วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ)
- หลวงพ่อประธานเฒ่า (วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง)
- เขื่อน
- เขื่อนสิริกิติ์
- เขื่อนดินช่องเขาขาด
- เขื่อนทดน้ำผาจุก (โครงการของกรมชลประทานปี 2553)
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
|
|
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
ดูเพิ่มเติมที่: หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดอุตรดิตถ์
- พระสงฆ์
- พระครูธรรมกิจจาภิบาล (กลม สุวณฺโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดดอยท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
- พระนิมมานโกวิท (ทองดำ ฐิตวณฺโณ) พระเกจิอาจารย์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
- ด้านการเมืองการปกครอง
- เจ้าพระฝาง
- พระยาพิชัยดาบหัก
- พระศรีพนมมาศ อำมาตย์ตรีเกษตร (ทองอิน แซ่ตัน)
- พึ่ง ศรีจันทร์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ 4 สมัย
- เกรียง กีรติกร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์
- ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- วารุจ ศิริวัฒน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ 2 สมัย
- เปรม มาลากุล ณ อยุธยา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ 5 สมัย
- วิโรจน์ แสงสนิท อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน และอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- บุญยง วัฒนพงศ์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ 5 สมัย
- ปาน พึ่งสุจริต อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- กฤษณา สีหลักษณ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 60 ของไทย)
- ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อดีต ผู้บัญชาการทหารอากาศ
- ด้านศิลปวัฒนธรรม
- สุนทร คมขำ (กล้วย เชิญยิ้ม) ดาราตลก
- ไพโรจน์ ใจสิงห์ นักแสดง และผู้กำกับภาพยนตร์
- อรรณพ ทองบริสุทธิ์ (ปอ) AF คนที่ 7 ของประเทศไทย จากรายการ True Academy Fantasia Season 7
- กัญญารัตน์ พงศ์กัมปนาท (นินิว) รองมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สปี 2554 และนักแสดงช่อง 7
- สุรวุฑ ไหมกัน (หนุ่ม) นักแสดง และพิธีกร
- ศรายุทธ บุญหวา (อาร์ม) นักร้อง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น