จังหวัดพิจิตร เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบนระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ประมาณ 4,531 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 541,868 คน จังหวัดพิจิตรมีแม่น้ำน่านและแม่น้ำยมไหลผ่าน และมีตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน
จังหวัดพิจิตร
"พิจิตร" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ พิจิตร (แก้ความกำกวม)
|
เนื้อหา
ประวัติศาสตร์[แก้]
พิจิตร เดิมสะกดว่า พิจิตร์[3] มีความหมายว่า "(เมือง) งาม" พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และในศิลาจารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอฆบุรี" ซึ่งแปลว่า "เมืองในท้องน้ำ" ตามตำนานกล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร แต่จะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ นอกจากนี้ เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)ในสมัยอยุธยา พิจิตรเป็นหัวเมืองชั้นตรี มีตำแหน่งเจ้าเมืองปรากฏตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนนาทหารหัวเมืองว่า ออกญาเทพาธิบดีศรีรณรงค์ฤๅไชยอภัยพิรียภาหะ ศักดินา 5,000 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์ระดับสูง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีหัวเมืองชั้นตรีเพียง 7 เมืองเท่านั้น คือ เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองนครสวรรค์ เมืองพัทลุง เมืองชุมพร เมืองจันทบูร และเมืองไชยา จึงนับว่าในสมัยโบราณ พิจิตรเป็นเมืองที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญสูง จนตำแหน่งเจ้าเมืองมีการตราไว้ในพระไอยการฯ ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงตราไว้
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองดังเช่นเมืองอื่น ๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียง ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา
ภูมิศาสตร์[แก้]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
จังหวัดพิจิตรอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,831,883 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดนครสวรรค์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชร
ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]
มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มตอนกลางและค่อยสูงขึ้นทางทิศตะวันออกและตะวันตกมีแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านไหลผ่านจากเหนือจรดใต้ มีบึงสีไฟ และบึง หนอง คลอง อีกจำนวนมาก สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปอุณหภูมิเฉลี่ย 30.2 องศาเซลเซียส ต่ำสุดโดยประมาณ 14.4 องศาเซลเซียส สูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 33.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 911.3 มิลลิเมตร สูงสุด 1,113.9 มิลลิเมตร การประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นภาคการผลิตหลัก รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรม การค้าส่ง การค้าปลีก และการบริการ ผลผลิตสำคัญได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเขียว และการประมงสัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ตราประจำจังหวัด: ต้นโพธิ์ริมสระหลวง
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวหลวง (Nymphaea lotus)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: บุนนาค (Mesua ferrea)
- คำขวัญประจำจังหวัด: ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน
- ลักษณะรูปร่างของจังหวัด: จังหวัดพิจิตรมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับ "ตะพาบ"
การเมืองการปกครอง[แก้]
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 89 ตำบล 888 หมู่บ้านการปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
จังหวัดพิจิตรมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 102 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองตะพานหิน เทศบาลเมืองบางมูลนาก และเทศบาลเมืองพิจิตร, เทศบาลตำบล 25 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 75 แห่ง[4]รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]
|
|
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
การศึกษา[แก้]
- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ หน่วยวิทยบริการ จังหวัดพิจิตร
- วิทยาลัยชุมชนพิจิตร
- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพิจิตร (สถาบันร่วมผลิตแพทย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)
- ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
- ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพิจิตร (โครงการก่อสร้าง) อำเภอทับคล้อ
- สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน วิทยาเขตพิจิตร (โครงการจัดตั้ง)
- โรงเรียน
ดูบทความหลักที่: รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพิจิตร
สาธารณสุข[แก้]
- โรงพยาบาลในจังหวัดพิจิตร
- โรงพยาบาลพิจิตร อำเภอเมืองพิจิตร
- โรงพยาบาลทัศนเวช อำเภอเมืองพิจิตร
- โรงพยาบาลสหเวช อำเภอเมืองพิจิตร
- โรงพยาบาลพิษณุเวช สาขาพิจิตร อำเภอเมืองพิจิตร
- โรงพยาบาลชัยอรุณเวชการ อำเภอเมืองพิจิตร
- โรงพยาบาลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ
- โรงพยาบาลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก
- โรงพยาบาลวังทรายพูน อำเภอวังทรายพูน
- โรงพยาบาลสามง่าม อำเภอสามง่าม
- โรงพยาบาลโพทะเล อำเภอโพทะเล
- โรงพยาบาลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง
- โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน อำเภอตะพานหิน
- อดีตโรงพยาบาลในจังหวัดพิจิตร
การขนส่ง[แก้]
การขนส่งในจังหวัดพิจิตรมีทั้งทางถนนและทางราง ทางหลวงสำคัญในจังหวัดในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ซึ่งเชื่อมต่อจากจังหวัดนครสวรรค์ ผ่านจังหวัดพิจิตร ไปยังจังหวัดพิษณุโลก ส่วนในแนวตะวันออก-ตะวันตก ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 115 ซึ่งเป็นทางหลวงที่เชื่อมต่อไปจังหวัดกำแพงเพชร นอกจากนี้ ยังมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 113 ซึ่งเชื่อมต่อจากตัวเมืองไปยังอำเภอตะพานหิน และไปยังจังหวัดเพชรบูรณ์นอกจากทางถนนแล้ว จังหวัดพิจิตรยังมีทางรถไฟสายเหนือผ่านอำเภอบางมูลนาก อำเภอตะพานหิน และอำเภอเมืองพิจิตร โดยมีสถานีรถไฟ 10 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟวังกร่าง บางมูลนาก หอไกร ดงตะขบ ตะพานหิน ห้วยเกตุ หัวดง วังกรด พิจิตร และสถานีรถไฟท่าฬ่อ
วัฒนธรรมและประเพณี[แก้]
ประเพณีแข่งเรือ[แก้]
จังหวัดพิจิตรมีการแข่งเรือประเพณีมาเป็นเวลานานแล้วเพราะมีธรรมเนียมว่า วัดใดถ้าจัดงานปิดทองไหว้พระแล้วก็จะต้องจัดงานแข่งเรือควบคู่กันไปด้วย มักจัดกันในฤดูน้ำหลาก ประมาณวันเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือนกันยายนของทุกปี ในงานจะมีการแข่งเรือประเพณีและการประกวดขบวนแห่เรือต่าง ๆ ในแม่น้ำน่าน หน้าวัดท่าหลวงมีการจัดกิจจกรรมภายในงานที่น่าสนในมากมายการแข่งเรือยาวของหวัดท่าหลวงเริ่มในสมัยท่าเจ้าคุณพระธรรมทัสส์มุนีวงค์ (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 ได้กำหนดงานจัดงานแข่งขันเรือตามกำหนดวัน คือ วัน ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ภายหลังน้ำในแม่น้ำน่านลดลงเร็วเกินไป ไม่เหมาะสมจะแข่งขันเรือยาว จึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 และทางวัดแข่งขันเพียงวันเดียว การแข่งขันเรือยาวได้จัดนำผ้าห่มหลวงพ่อเพชรมอบให้เป็นรางวัลสำหรับเรือยาวที่ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ต่อมาได้เปลี่ยนรางวัลเป็นธงที่มีรูปหลวงพ่อเพชรแทน
ประเพณีกำฟ้า[แก้]
เป็นประเพณีสำคัญของชาวบ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน ซึ่งเป็นชาวไทยพวน ซึ่งถือปฏิบัติต่อกันมา เป็นเวลาช้านาน จัดตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำและ 3 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์) เพื่อแสดง ความเคารพบูชาเทวดาและพระมหากษัตริย์ เมื่อถึงวันกำฟ้าชาวไทยพรวนจะกลับมายังบ้านของตน เพื่อร่วมทำบุญกับญาติพี่น้อง พบปะสังสรรค์และเล่นกีฬาพื้นบ้านตำนาน[แก้]
พระพิจิตรเกศคด[แก้]
ตามตำนานเล่าว่าในสมัยโบราณ พิจิตรเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัย เวลามีศึกสงคราม ก็มักจะมีการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ชาวพิจิตรไปรบ และนักรบจากเมืองพิจิตรนี้มีความกล้าหาญอย่างยิ่ง ก็มีผู้สงสัยว่าทำไมนักรบเหล่านี้จึงกล้าหาญ ก็ปรากฏว่า ชายฉกรรจ์เหล่านี้ต่างมีพระเครื่อง ที่เป็นวัตถุมงคลติดตัวไปทุกคน และพระเครื่องเหล่านี้ก็แปลกกว่าที่อื่น ๆ คือตรงเศียรพระจะเอียงไม่ตรง เข้าใจว่าพิมพ์ที่นำมาใช้หล่อพระนั้นจะทำไม่ตรง แต่ภายหลังก็เป็นที่นิยมกันว่า พระเครื่องของพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ที่ทำขึ้นในเมืองพิจิตรในสมัยต่อมามักจะทำเกศให้คด เป็นรูปพิมพ์นิยม จึงเรียกกันติดปากว่า พิจิตรเกศคดตำนานชาละวัน[แก้]
ชาละวัน เป็นจระเข้ใหญ่เลื่องชื่อแห่งแม่น้ำน่านเก่าเมืองพิจิตร สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยที่พิจิตรมีเจ้าเมืองปกครอง ตามตำนานกล่าวว่า มีตายายสองสามีภรรยา ออกไปหาปลาพบไข่จระเข้ที่สระน้ำแห่งหนึ่ง จึงเก็บมาฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงไว้ในอ่างน้ำ เพราะยายอยากเลี้ยงไว้แทนลูก ต่อมาจระเข้ตัวใหญ่ขึ้นจึงนำไปเลี้ยงไว้ในสระใกล้บ้านหาปลามาให้เป็นประจำ ต่อมาตายายหาปลามาให้เป็นอาหารไม่พออิ่ม จระเข้ตัวนั้นจึงกินตายายเป็นอาหาร เมื่อขาดคนเลี้ยงดูให้อาหาร จระเข้ใหญ่จึงออกจากสระไปอาศัยอยู่ในแม่น้ำน่านเก่าซึ่งอยู่ห่างจากสระตายายประมาณ 500 เมตรแม่น้ำน่านเก่าในสมัยนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลานานาชนิดและมีน้ำบริบูรณ์ตลอดปี ขณะนั้นไหลผ่านบ้านวังกระดี่ทอง บ้านดงเศรษฐี ล่องไปทางใต้ ไหลผ่านบ้านดงชะพลู บ้านคะเชนทร์ บ้านเมืองพิจิตรเก่า บ้านท่าข่อย จนถึงบ้านบางคลาน จระเข้ใหญ่ก็เที่ยวออกอาละวาดอยู่ในแม่น้ำตั้งแต่ย่านเหนือเขตวังกระดี่ทอง ดงชะพลู จนถึงเมืองเก่า แต่ด้วยจระเข้ใหญ่ของตายายได้เคยลิ้มเนื้อมนุษย์แล้ว จึงเที่ยวอาละวาดกัดกินคนทั้งบนบกและในน้ำไม่มีเว้นแต่ละวัน จึงถูกขนานนามว่า "ไอ้ตาละวัน" ตามสำเนียงภาษาพูดของชาวบ้านที่เรียกตามความดุร้ายที่มันทำร้ายคน ไม่เว้นแต่ละวัน ต่อมาก็เรียกเพี้ยนเสียงเป็น "ไอ้ชาละวัน" และเขียนเป็น "ชาลวัน" ตามเนื้อเรื่องในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ชื่อของชาละวันแพร่สะพัดไปทั่วเพราะเจ้าชาละวันไปคาบเอาบุตรสาวคนหนึ่งของเศรษฐีเมืองพิจิตรขณะกำลังอาบน้ำอยู่ที่แพท่าน้ำาหน้าบ้าน เศรษฐีจึงประกาศให้สนบนหลายสิบชั่ง พร้อมทั้งยกลูกสาวที่มีอยู่อีกคนหนึ่งให้แก่ผู้ที่ฆ่าชาละวันได้ ไกรทอง พ่อค้าจากเมืองล่าง สันนิษฐานว่าจากเมืองนนทบุรี รับอาสาปราบจระเข้ใหญ่ด้วยหอกลงอาคมหมอจระเข้ ถ้ำชาละวันสันนิษฐานว่าอยู่กลางแม่น้ำน่านเก่า ปัจจุบันอยู่ห่างจากที่พักสงฆ์ถ้ำชาละวัน บ้านวังกระดี่ทอง ตำบลย่านยาว ไปทางใต้ประมาณ 300 เมตร ทางลงปากถ้ำเป็นโพรงลึกเป็นรูปวงกลมมีขนาดพอดี จระเข้ขนาดใหญ่มากเข้าได้อย่างสบาย คนรุ่นเก่าได้เล่าถึงความใหญ่โตของชาละวันว่า เวลามันอวดศักดาลอยตัวปริ่มน้ำขวางคลอง ลำตัวของมันจะยาวคับคลอง คือหัวอยู่ฝั่งนี้ หางอยู่ฝั่งโน้น เรื่องชาละวันเป็นเรื่องที่เลื่องลือมาก จนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง "ไกรทอง" และให้นามจระเข้ใหญ่ว่า "พญาชาลวัน"
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
|
|
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- กระโดดขึ้น ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2560. สืบค้น 14 มีนาคม 2561.
- กระโดดขึ้น ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
- กระโดดขึ้น ↑ ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น