จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย
จังหวัดนครสวรรค์
"นครสวรรค์" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ นครสวรรค์ (แก้ความกำกวม)
|
เนื้อหา
ประวัติศาสตร์[แก้]
นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมืองนครสวรรค์มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี มีชื่อในศิลาจารึกของสุโขทัย โดยเรียกว่า "เมืองพระบาง" เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการทำศึกสงครามตั้งแต่สมัยสุโขทัย, กรุงศรีอยุธยา, ธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเรียกชื่อว่า "เมืองชอนตะวัน" และเปลี่ยนเป็นนครสวรรค์ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่าเมืองปากน้ำโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่านครสวรรค์เคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนชาวจีนที่มาทำมาค้าขายระหว่างประเทศเมืองพระบางเป็นเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยคู่กับเมืองคนที โดยตัวเมืองพระบางอยู่ที่เมืองนครสวรรค์เก่า ส่วนเมืองคนทีสันนิษฐานว่าอยู่ที่บ้านโคน ริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร จากข้อมูลในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เมืองพระบางถูกผนวกรวมกันเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และถูกผนวกรวมอีกครั้งในสมัยพระยาลิไท พระองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทพร้อมทั้งศิลาจารึกวัดเขากบไว้ที่เขากบ ปัจจุบันอยู่ใจกลางเมืองนครสวรรค์ ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) ที่ประกาศให้สุโขทัยเป็นเอกราชได้รวมเมืองพระบางไว้ในอาณาเขตด้วย
เมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยากล้าแข็งขึ้น เมืองพระบางจึงไปขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด มีหลักฐานในตำนานมูลศาสนาว่าพระญาณคัมภีร์ขอที่สร้างวัดในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1972 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ไม่อนุญาตจึงมาขอที่ที่เมืองพระบาง เจ้าเมืองพระบางไม่ยกที่ให้ อ้างว่าเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของอยุธยา เมื่ออยุธยาไม่ให้ ทางเมืองพระบางก็ให้ไม่ได้ [3]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองส่วนภูมิภาค นครสวรรค์ได้เป็นที่ตั้งมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 มณฑลที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2438 ในการจัดตั้งมณฑลนครสวรรค์ ได้รวมเอาหัวเมืองทางแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือขึ้นไปจนถึงแม่น้ำปิงเข้าด้วยกัน 8 เมืองได้แก่ นครสวรรค์, ชัยนาท, อุทัยธานี, พยุหะคีรี มโนรมย์ สรรคบุรี, กำแพงเพชร และ ตาก โดยมีพระยาดัสกรปลาศ (ทองอยู่ โลหิตเสถียร) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรก ตั้งที่ว่าการมณฑลอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ การจัดรูปปกครองในลักษณะมณฑลได้ดำเนินการ มาจนถึง พ.ศ. 2475 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุบมณฑลและระเบียบเทศาภิบาลของเก่าไปให้คงไว้แต่หัวเมืองและอำเภอ โดยให้ทุกเมืองมีฐานะเท่าเทียมกัน ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อเจ้ากระทรวง และรับคำสั่งจากเจ้ากระทรวงโดยตรง
ภูมิศาสตร์[แก้]
ภูมิประเทศ[แก้]
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็น การไหลบรรจบของแม่น้ำสี่สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนครสวรรค์จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสี่แคว นอกจากนี้ยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่าง ๆภูมิอากาศ[แก้]
จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่ในเขตร้อนแบบมรสุม[ซ่อน]ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดนครสวรรค์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 32.2 (90) | 34.8 (94.6) | 36.8 (98.2) | 38.1 (100.6) | 35.9 (96.6) | 34.6 (94.3) | 34.0 (93.2) | 33.3 (91.9) | 32.5 (90.5) | 32.1 (89.8) | 31.5 (88.7) | 31.0 (87.8) | 33.9 (93.02) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 18.1 (64.6) | 21.7 (71.1) | 24.1 (75.4) | 25.7 (78.3) | 25.4 (77.7) | 25.0 (77) | 24.5 (76.1) | 24.3 (75.7) | 24.0 (75.2) | 23.6 (74.5) | 21.3 (70.3) | 18.2 (64.8) | 22.99 (73.39) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 9.8 (0.386) | 14.9 (0.587) | 30.0 (1.181) | 60.9 (2.398) | 138.7 (5.461) | 117.1 (4.61) | 134.1 (5.28) | 194.9 (7.673) | 231.6 (9.118) | 144.4 (5.685) | 35.3 (1.39) | 7.3 (0.287) | 1,119 (44.055) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 1 | 2 | 3 | 5 | 12 | 14 | 16 | 18 | 18 | 14 | 4 | 1 | 108 |
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา |
ปากน้ำโพ[แก้]
บ้างเล่าว่าที่เรียกว่า "ปากน้ำโพ" ก็คือว่าเป็นบริเวณที่แม่น้ำปิง และน่านมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า "ปากน้ำโผล่" และเพี้ยนมาเป็น "ปากน้ำโพ" แต่ในปัจจุบันนักโบราณคดีระบุว่า พื้นที่บริเวณนี้เป็นปากน้ำของคลองโพ (คือส่วนหนึ่งของแม่น้ำน่านในปัจจุบัน โดยบรรจบกับแม่น้ำน่านก่อนแล้ว จึงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา) จึงเรียกว่า ปากน้ำโพ ดังเช่น ปากยม ปากชม ปากลัด และปากน้ำอื่น ๆสัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ตราประจำจังหวัด : รูปวิมานซึ่งเป็นที่สถิตของเหล่าชาวสวรรค์ (เทวดานางฟ้า) หมายถึง ชื่อครั้งหลังสุดของจังหวัดเป็นเมืองสำคัญในการรบทัพจับศึกตลอดมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย
- คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นเสลา (Lagerstroemia loudonii)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกเสลา
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 15 อำเภอ 130 ตำบล 1328 หมู่บ้านการปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
จังหวัดนครสวรรค์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 143 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์, เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครนครสวรรค์, เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองชุมแสง และเทศบาลเมืองตาคลี, เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 121 แห่ง[4] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดนครสวรรค์มีดังนี้
|
|
|
|
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
การศึกษา[แก้]
- โรงเรียน
ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์
- ระดับอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์
- วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย
- วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
- วิทยาลัยเทคนิคแม่วงก์
- วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
- วิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคเหนือ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการตากฟ้า
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาวิริยาลัยนครสวรรค์
- โรงเรียนสหพานิชยการ อำเภอเมืองนครสวรรค์
- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนา จังหวัดนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยภาคกลาง
- มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์[5]
- มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์วิทยบริการ จังหวัดนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ศูนย์ตาคลี อำเภอตาคลี
การขนส่ง[แก้]
การขนส่งทางถนนในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบไปด้วยทางหลวงสำคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือถนนพหลโยธิน เชื่อมต่อไปยังภาคกลางตอนล่างและภาคเหนือ, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 เชื่อมต่อกับจังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เชื่อมต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 เชื่อมต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดชัยภูมิจังหวัดนครสวรรค์มีสถานีรถไฟนครสวรรค์บนทางรถไฟสายเหนือของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตัวสถานีตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับตัวเมืองที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ นอกจากนี้ ยังมีการขนส่งทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนครสวรรค์[6]
เศรษฐกิจ[แก้]
จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพราะเป็นชุมทางของคมนาคมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นถนน รถไฟ หรือทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าข้าวกำนันทรง ซึ่งเป็นตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีเทศบาลนครที่เจริญเป็นอันดับที่ 13 ของประเทศไทย ข้อมูลจากรายชื่อเมืองใหญ่ของประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากรสถานที่สำคัญ[แก้]
บุคคลสำคัญ[แก้]
- พระเกจิอาจารย์/พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์
- พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) พระสงฆ์ผู้เป็นที่สักการบูชาของปวงชน
- พระครูนิทัศน์ศาสนกิจ (หลวงปู่พิมพา ธมฺมวโร วัดหนองตางู)
- พระครูจ้อย จนฺทสุวณฺโณ หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ แห่งวัดศรีอุทุมพร
- พระอุดมปรีชาญาณ (กวิพัฒน์ สุขเมธี/สุขแจ่ม) ป.ธ.๙, Ph.D.ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก รูปที่ ๑
- พระครูนิมิตรพุทธิสาร (หลวงพ่อโอน ฐิตปัญโญ)วัดโคกเดื่อ
- บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์
- พระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพชร) วีรบุรุษของไทยในสมัย ร.5 จากวิกฤตการณ์ ร.ศ.112
- หลวงศรียศ หลวงศรียศบ้านลานตากฟ้า ทหารเอกและขุนนางคนสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา(ในรัชสมัย สมเด็จพระชัยราชาธิราช สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช)
- นักร้อง/นักแสดง
- นันทิดา แก้วบัวสาย นักร้อง
- อรลลินทร์ ปุญยวัฒนานนท์ นักร้อง (อดีตแชมป์ศึกวันดวลเพลง เด็ก)
- ศรัณย์ สาครสิน นักแสดง นายแบบ ฉายา หลิวเต๋อหัวเมืองไทย
- อาภาพร นครสวรรค์ นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง และ นักแสดง
- ศิริพร อยู่ยอด นักร้องชื่อดัง นักแสดง และ ตลกหญิงชื่อดัง
- คัฑลียา มารศรี นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง
- ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง นักแสดง (โด่งดังจาก ภ.ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
- สาลี่ ขนิษฐา นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง
- ดอน สอนระเบียบ นักร้องและนักแสดง
- ยุทธนา เปื้องกลาง ตูมตาม แชมป์ The Star ปี 7 และ นักแสดง
- ปราชญ์ พงษ์ไชย นักร้องนำวงซีล (เป๊ก วง ZEAL)
- คณิน ชอบประดิถ นักแสดงช่อง 3 (พระเอก)
- ณฐณพ ชื่นหิรัญ นักแสดงช่อง 3 (พระเอก)
- พรพรรณ ฤกษ์อัตการ นักแสดงช่องวัน
- กชกร นิมากรณ์ นักแสดง
- อรรถพล รุจิระประวัติ นักร้องนำ/กีต้าร์ วง คาราเมล (วงดนตรี)
- กิตติยา รัตนจิรเศรษฐ นักร้อง อัลบั้ม First Stage Project โด่งดังในเพลง คิดถึง...อีกแล้ว
- ภัทร์พิชชา เทวัญอุทัยวงศ์ แคท AF9 และ นักแสดง
- พาขวัญ รื่นรวย นักร้องของค่าย JSL
- มด รังสิมันต์ นักร้องลูกทุ่งเจ้าของเพลง รอสัญญาใจ
- เฟรนด์ชิพ เสฐียรพงษ์ นักร้องค่ายรถไฟดนตรี วีเจรายการไทไทคลับ(ทรูวิชั่น) และนักแสดง
- น้องจ้า ชาลิณี นักร้องลูกทุ่ง เจ้าของเพลงดัง ปลื้มป่วนใจ,รอง้อ
- ภัทรนรินทร์ เหมือนฤทธิ์ ไนน์ ไอดอล วง BNK48
- นางงาม
- ทวีพร คลังพลอย นางสาวไทยประจำปีพุทธศักราช ๒๕๒๙
- วรางคนาง วุฑฒยากร นางงาม มิสทัวริซึ่มอินเตอร์เนชันแนลไทยแลนด์ 2014 และ มิสทัวริซึมควีนออฟเดอะเยียร์อินเตอร์เนชันแนล 2014/2015 และ นักแสดงช่อง 7
- นักการเมือง
- หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี
- สุนัย จุลพงศธร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อไทย
- สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- สวัสดิ์ คำประกอบ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
- วีระกร คำประกอบ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ภิญโญ นิโรจน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นักเขียน
- โชคชัย บัณฑิต นักเขียนรางวัลซีไรต์
- ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ นักเขียนรางวัลซีไรต์ในปี 2535 จากเรื่อง มือนั้นสีขาว
- นิพนธ์ เที่ยงธรรม นักเขียนโด่งดังจากเรื่อง ชิงชัง, สุดแค้นแสนรัก, เจ้าสาวไร่ส้ม
- นักกีฬา
- ประภาวดี เจริญรัตนธารากุล นักกีฬายกน้ำหนักเหรียญทองโอลิมปิก ปักกิ่งเกมส์ ปี 2008
- อำพร หญ้าผา นักวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- อนาวิน จูจีน นักฟุตบอลสังกัดสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส
- วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- เต็งหนึ่ง ศิษย์เจ๊สายรุ้ง นักชกมวยไทย Thai Fight ไทยไฟต์
- เอกชนะชัย ม.กรุงเทพธนบุรี นักชกมวยไทย Thai Fight ไทยไฟต์
- ผู้ประกาศข่าว
- ภาษิต อภิญญาวาท ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
- นิลาวรรณ พานิชรุ่งเรือง ผู้ประกาศข่าวช่อง 7
- ภัทรา อภิญญาวาท ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
- เมจกา สุพิชญางกูร ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
- อื่น ๆ
- ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ นักวิทยาศาสตร์หญิงระดับโลก, นักวิจัยไบโอเทค
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน บิดาแห่งวิชานิติเวชศาสตร์ ในประเทศไทย
อ้างอิง[แก้]
- กระโดดขึ้น ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_60.pdf 2560. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2561.
- กระโดดขึ้น ↑ ประเสริฐ ณ นคร. พระบาง ในประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กทม. มติชน. 2549 หน้า 244 - 245
- กระโดดขึ้น ↑ ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- กระโดดขึ้น ↑ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
- กระโดดขึ้น ↑ "Nakhon Sawan Airport". OurAirports. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น