จังหวัดตาก (คำเมือง: Tak in Lanna.png) เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกหรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของไทย มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ





































จังหวัดตาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไบยังการนำทางไปยังการค้นหา
สำหรับตาก ในความหมายอื่น ดูที่ ตาก (แก้ความกำกวม)
จังหวัดตาก
ตราประจำจังหวัดตาก
ตราประจำจังหวัด
ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่
พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย ตาก
อักษรโรมัน Tak
ผู้ว่าราชการ เจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2559)
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 16,406.650 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 4)
ประชากร 644,267 คน[2] (พ.ศ. 2560)
(อันดับที่ 46)
ความหนาแน่น 39.26 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 76)
ISO 3166-2 TH-63
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ต้นไม้ แดง
ดอกไม้ เสี้ยวดอกขาว
สัตว์น้ำ ปลาตะพากส้ม
ศาลากลางจังหวัด
ที่ตั้ง ถนนพหลโยธิน ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก 63000
โทรศัพท์ (+66) 0 5551 2092
โทรสาร (+66) 0 5551 1503
เว็บไซต์ จังหวัดตาก
แผนที่
 
ประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแผนที่ประเทศไทย จังหวัดตากเน้นสีแดง
เกี่ยวกับภาพนี้

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดตาก (คำเมือง: Tak in Lanna.png) เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกหรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของไทย มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดชายแดนที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของไทย มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นับแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลายแห่งด้วย นอกจากนี้จังหวัดตากยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดอื่น ๆ ถึง 9 จังหวัด

ประวัติศาสตร์[แก้]

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการอพยพของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้านอำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า "เมืองตาก"
ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุคนั้น ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี พ.ศ. 560 รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตากมีการค้าขายกับเมืองอินเดียด้วย
เมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจาก ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก
มีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (ระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทาง ลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง จึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า "เมืองตาก"
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1805 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพ มาประชิดเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงจัดกองทัพออกไปรบ โดยมีพระราชโอรสองค์เล็กซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ติดตามไปด้วย กองทัพ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่บริเวณเชิงดอยนอกเมืองตากประมาณกิโลเมตรเศษ ราชโอรสองค์เล็กได้ทรงชนช้าง กับขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้แตกพ่ายไป ต่อมาภายหลังทรงพระนามว่า "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" และได้โปรดสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น องค์หนึ่งเป็นศิลปแบบสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยุทธหัตถีนี้อยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ห่างจากตัวเมืองไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงราว 31 กิโลเมตร
ต่อมาในแผ่นดินมหาธรรมราชา ได้ย้ายเมืองตากลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตากในปัจจุบัน
เมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้มิใช่เมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นที่ชุมนุมพลในเวลา ที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ทุกพระองค์
โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือและต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ปลัดเมืองตาก พระยาวชิรปราการแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยลำดับ
กล่าวโดยสรุป จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การสนใจ เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้แล้วถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และทรงยกทัพกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ครั้งที่ 2

ภูมิศาสตร์[แก้]

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 9 จังหวัด ดังนี้
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านตะวันตกของจังหวัด

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

หน่วยการปกครอง[แก้]

อำเภอ[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 63 ตำบล 493 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองตาก
  2. อำเภอบ้านตาก
  3. อำเภอสามเงา
  4. อำเภอแม่ระมาด
  5. อำเภอท่าสองยาง
  6. อำเภอแม่สอด
  7. อำเภอพบพระ
  8. อำเภออุ้มผาง
  9. อำเภอวังเจ้า
แผนที่

เทศบาล[แก้]

อำเภอเมืองตาก
อำเภอบ้านตาก
อำเภอสามเงา
อำเภอแม่ระมาด
อำเภอท่าสองยาว
อำเภอแม่สอด
อำเภอพบพระ
อำเภออุ้มผาง
อำเภอวังเจ้า

รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการ[แก้]

นาม ระยะเวลา
1. พระยาสุจริตรักษา (อ่วม) พ.ศ. 2425 - พ.ศ. 2452
2. พระยาสุจริตรักษา (ทองคำ) -
3. พระยาสุจริตรักษา (เชื้อ)กัลยาณมิตร -
4. พระยาเทพธิบดี -
5.พระยาวิชิตรักษาตักศิลาบุรินทร์ -
6. พระยาประสาทวิริยกิจ 1 เม.ย. 2463 - 31 มี.ค. 2467
7. พระยาพิชัยสุนทร 1 เม.ย. 2468 - 12 ก.ค. 2468
8. พระยาพิชัยวิเศษฤๅชัย 1 เม.ย. 2469 - 21 พ.ค. 2469
9. พระผดุงภูมิพัฒน์ 22 พ.ค 2469 - 31 มี.ค. 2475
10. พระสมัครสโมสร 1 พ.ค. 2476 - 31 มี.ค. 2479
11. หลวงทรงประศาสน์ 1 เม.ย. 2480 - 30 มี.ค. 2481
12. หลวงวิมลประชาภัย 11 เม.ย. 2482 - 31 ธ.ค. 2484
13. หลวงสกลผดุงเขตต์ 1 พ.ค. 2485 - 31 ธ.ค. 2487
14. หลวงนครคุณูปถัมภ์ 1 พ.ค. 2488 - 31 พ.ค. 2489
15. ขุนสัมมะสิงห์สวัสดิ์ 1 ม.ค. 2489 - 11 ม.ย. 2492
16. นายนวน มีชำนาญ 1 ม.ค. 2490 - 1 ม.ค. 2491
17. นายพรหม สูตรสุคนธ์ 1 ม.ค. 2491 - 1 เม.ย. 2492
18. พ.ต.เล็ก ทองสุนทร 1 เม.ย. 2492 - 20 มี.ค. 2493
19. นายสุวรรณ รื่นยศ 25 เม.ย. 2493 - 30 มิ.ย. 2495
20. นายประกอบ ทรัพย์มณี 1 ก.ค. 2495 - 29 มี.ค. 2499
21. นายสง่า ไทยานนท์ 30 มี.ค. 2499 - 30 ก.ย. 2505
22. ร.ต.ท.ระดม มหาศรานนท์ 5 ต.ค. 2505 - 31 ธ.ค. 2509
23. นายชุชัย สุวรรณรังษี 13 ม.ค. 2509 - 24 ส.ค. 2516
24. นายดิเรก โสดสถิตย์ 2 ต.ค. 2516 - 13 ต.ค. 2518
25. นายสุชาติ พัววิไล 17 ต.ค. 2518 - 4 พ.ย. 2519
26. นายกุศล ศานติธรรม 5 พ.ย. 2519 - 9 ก.พ. 2522
27. นายชาญ พันธุมรัตน์ 8 ก.พ. 2522 - 3 ก.พ. 2523
28. นายไพทูรย์ ลิมปิทีป 4 ก.พ. 2523 - 3 ต.ค. 2523
29. นายเจริญศุข ศิลาพันธุ์ 6 ต.ค. 2523 - 30 ก.ย. 2526
30. นายกาจ รักษ์มณี 1 ต.ค. 2526 - 30 ก.ย. 2528
31. นายสมบูรณ์ พรหมเมศร์ 1 ต.ค. 2528 - 30 ก.ย. 2532
32. นายสนิทวงศ์ อุเทศนันทน์ 1 ต.ค. 2532 - 30 ก.ย. 2534
33. นายจำเนียร ศศิบุตร 1 ต.ค. 2534 - 30 ก.ย. 2536
34. นายเกษม นาครัตน์ 1 ต.ค. 2536 - 30 ก.ย. 2539
35. นายพงศ์โพยม วาศภูติ 1 ต.ค. 2539 - 15 เม.ย. 2541
36. นายฮึกหาญ โตมรศักดิ์ 16 เม.ย. 2541 - 30 ก.ย. 2542
37. นายนิรัช   วัจนะภูมิ 1ต.ค. 2542 - 30 ก.ย. 2544
38. นายธีระบูลย์ โพบุคดี 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
39. นายสวัสดิ์  ศรีสุวรรณดี 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547
40. นายสุวัฒน์ ตันประวัติ 1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548
41. นายอมรพันธ์  นิมานันท์ 1 ต.ค. 2548 - 12 พ.ย. 2549
42. นายชุมพร  พลรักษ์ 13 พ.ย. 2549 - 19 ต.ค. 2551
42. นายคมสัน เอกชัย 20 ต.ค. 2551 - 30 ก.ย. 2552
43. นายสามารถ ลอยฟ้า 1 ต.ค. 2552 - 29 ธ.ค. 2554
44. นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ 24 ก.พ. 2555 - 30 ก.ย. 2557
45. นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ 1 ต.ค. 2557 - 30 มี.ค. 2559
46. นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ 22 เม.ย. 2559 - ปัจจุบัน

การศึกษา[แก้]

ระดับอุดมศึกษา
โครงการจัดตั้ง
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์แม่สอด โครงการจัดตั้งร่วมของเทศบาลนครแม่สอดและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยขั้นต้นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • มหาวิทยาลัยแม่สอด โครงการจัดตั้งของเทศบาลนครแม่สอด
สถาบันอาชีวศึกษา
ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กระโดดขึ้น ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กระโดดขึ้น กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2560. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2561.

ความคิดเห็น